Thursday, August 14, 2008

ตะกู หรือ น็อปป้า

โลกร้อน เศรษฐกิจย่ำแย่ จนเครียดปลูกต้นไม้สิ..เล่นหุ้น ลงทุน ฝากแบงค์รวยเล็กน้อย ปลูกต้นไม้รวยกว่า 20 เท่า

ต้นตะกู

การปลูกไม้โตเร็วในประเทศไทย ในส่วนของผู้ผลิตไม้เศรษฐกิจโตเร็วในไทยแล้ว มีเกษตรกรและผู้สนใจที่ตะหนักถึงช่องว่างทางการตลาดและมองเห็นว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้ทำการปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็วจำนวนมาก เช่น
Ø ยูคาลิปตัส เพื่อแปรรูปใช้งานและอุตสาหกรรมกระดาษ แต่ปลูกยูคาลิปตัส แล้วนั้นข้อเสียคือ ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ดินแข็งแน่น หากกลับมาปลูกพืชดังเดิมหรือพืชชนิดอื่นจะได้ผลผลิตไม่ดีเท่าเดิม จึงได้ชะลอการปลูกไปก่อน โดยหันมามองไม้โตเร็วชนิดอื่นที่คิดว่าจะดีกว่า แต่การปลูกไม้ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะพบปัญหาต่างกันไป เช่น
Ø เพาโลเนีย เป็นไม้เมืองหนาว เมื่อนำมาปลูกในไทยก็มีปัญหาเรื่องดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมและดูแลยาก ทำให้ไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้
Ø ไม้ยมหอม มีปัญหาเรื่องหนอนกินยอดอย่างรุนแรง ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ ข้อมูลปัญหาที่พบเหล่านี้เกษตรกรส่วนมากจะพบปัญหาด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่มีข้อมูลเรื่องอุปสรรคและปัญหาของไม้ที่ควรจะได้รับรู้ในการตัดสินใจก่อนปลูก

เมื่อมีการทดลองและศึกษาข้อมูลในแปลงทดลอง ทำให้รู้ถึงศักยภาพของตะกู เป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของตะกูในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในแนวตั้งและแนวเส้นผ่าศูนย์กลางเจริญเติบโตได้ดีมาก ตะกูจึงเป็นไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถจัดเป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วในอนาคตได้ แต่เนื่องจากแหล่งต้นใหญ่ ต้นกล้าหรือแหล่งเพาะพันธุ์มีน้อย เพาะพันธุ์ได้ยาก จึงทำให้เกษตรกรไม่ทราบว่าจะหากล้าพันธุ์ได้ที่ใด รวมถึงข้อมูลที่ยังทราบกันอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ต้นตะกูเป็นไม้ยืนต้นซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว เป็นไม้มงคล โบราณเชื่อว่าจะขึ้นเป็นคู่ ๆ ในอาณาเขตบ้านของผู้มีบุญ ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดไม้ตะกูเป็นหนึ่งในไม้ป่ายืนต้นที่ปลูกทางด้านเศรษฐกิจของไทยอันดับที่ 21 ( เป็น 1 ใน 60 ชนิด ) เป็นไม้ที่เหมาะกับการปลูกป่าใหม่ที่ให้ผลเร็ว เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง มีขนาดใหญ่ ได้เนื้อไม้มาก ส่วนเสียน้อย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม เจริญเติบโตช้า เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณไม้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าไม้แปรรูปจากต่างประเทศปีละกว่า 50,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลการค้าทุกปี การปลูกต้นตะกูจึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการปลูกป่าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจของไทยได้เร็วที่สุด


ลักษณะต้นตะกู
Ø เป็นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สูง. 15 – 30 เมตร
Ø เนื้อละเอียดสีเหลืองนวล แข็งแรง น้ำหนักเบา
Ø เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระเป็นร่องละเอียดตามแนวลำต้น
Ø กิ่งแตกเป็นแนวทำมุมกับพื้นดิน วางตำแหน่งเป็นคู่ ในตำแหน่งตรงข้ามกันเป็นช่วง ๆ ตามแนวลำต้น แต่ละช่วงสลับกัน
Ø ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีคล้ายใบสัก ผิวเนียนละเอียด แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้ม ส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เห็น แต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง
Ø เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เป็นเส้นใบชัดทั้งสองด้าน
Ø ใบมีกลิ่นหอม ดอกมีสีเขียวอมเหลืองเมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กลุ่มดอกลักษณะกลมใหญ่ ประมาณ 3.5 – 7 เซนติเมตร จะออกในตำแหน่งปลายกิ่ง ในกลุ่มดอกมีกลีบดอกอัดแน่นจำนวนมากแต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบหยักมนและแผ่ออกเล็กน้อย ใต้กลีบดอกมีกระเปาะเมล็ด 5 กระเปาะ มีเมล็ดข้างใน เมื่อผลแก่เต็มที่จะร่วงลงตามธรรมชาติ
Ø เริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจากวงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดต่อกันโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 6 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
ไม้ตะกู (หรือ กระทุ่มบก มาจากคำว่า กทัมพ์ ในภาษาบาลี ) พบในอินเดีย เนปาล ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ เชื่อว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 – 5,000 มิลลิเมตร ในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้หรือสองข้างถนนที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ หรือพลังงานชีมวลจากผงถ่านไม้ตะกู ทำเป็นเชื่อเพลิงแทนถ่านหิน ( ลิกไนต์ ) ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5 – 10 ปี และนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocepalus chinensis ( Lamk.) A.Rich.ex Walp.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ชื่อเรียกตามแต่ละพื้นที่

1. กรุงเทพฯ เรียก กระทุ่ม , กระทุ่มบก
2. ภาคเหนือ เรียก ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว
3. กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน เรียก ปะแด๊ะ , เปอแด๊ะ , สะพรั่ง
4. ขอนแก่น เรียก ตุ้มพราย , ทุ่มพราย, กระทุ่ม
5. สุโขทัย จันทบุรี นครศรีธรรมราช เรียก ตะกู
6. ภาคตะวันออก เรียก แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่
7. ภาคใต้ เรียก ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน
8. ศูนย์วิจัยเอกชน เรียก น็อปป้า ( Noppa )

ในเมืองไทยพบได้หลายหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย บางสายพันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำและที่แล้ง การลงทุนปลูกต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็ว และจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ เช่นตะกูก้านแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว ต้นกล้าที่ได้จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก

ลักษณะเนื้อไม้
1. เป็นไม้ที่มีสีเหลืองนวล แข็งแรง ทนทาน
2. เนื้อละเอียด น้ำหนักเบา มีความเหนียว ไม่แตกหักง่าย ขึ้นรูปง่าย
3. ปลวกหรือมอดไม้ ไม่กินเหมือนไม้สัก จึงนิยมนำมาสร้างบ้าน ทำไม้พื้น ไม้กระดาน เสาบ้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน ง่ายต่อการทำการแปรรูป ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของพระกฤษณะ และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกูไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกูไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม
4. ถ่านไม้ตะกูมีการติดไฟดีมาก เป็นแท่งไม่แตกไม่หัก ถ่านมีน้ำหนักเบา

ลักษณะเด่นของตะกู
1. โตเร็ว แปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง
2. สามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขัง และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด
3. ทนแล้ง
4. มีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟัน ซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็ว ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าอีกในหลายรอบ
5. เป็นไม้ที่มีลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบ ๆ เปลืองพื้นที่ในการปลูกน้อย จึงปลูกต่อไร่ได้จำนวนมาก6. ปลูกได้ในทุกที่ สามารถช่วยให้ความชุ่มชื้น ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำป่าน้อยลง
7. เนื้อไม้เนียน ละเอียด สวย เนื้อไม้มีปริมาณมาก สามารถทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิดทั้งชิ้นใหญ่และชิ้นเล็ก
8. ปลวกและมอดไม่กินเหมือนไม้สัก
9. ผงถ่านมีคุณสมบัติพิเศษเพื่อการใช้ผลิต ลิกไนต์
10. มีการดูดซับคาร์บอนไดออกไซค์ในอากาศ มากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ (ลดโลกร้อน)

พื้นที่สำหรับปลูกต้นตะกูสามารถปลูกได้ไร่ละประมาณ 120 ต้นขึ้นไป โดยดูตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก พื้นราบ การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 3 เมตร ) เนินเขา การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 5 เมตร )

ขั้นตอนการปลูกต้นตะกู
Ø ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ สูงประมาณ 5 นิ้ว
Ø ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร
Ø หากเป็นพื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 เซนติเมตร จากนั้นตากแดดทิ้งไว้สักระยะเพื่อฆ่าเชื้อ ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 250 – 300 กรัม
Ø นำต้นตะกูลงปลูก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตกในขณะฉีกถุง จากนั้นกลบดินให้แน่น อย่าให้น้ำขังบริเวณหลุม ควรใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ เพื่อป้องกันต้นล้ม ระยะเริ่มปลูกถึง 2 เดือน ควรดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงัก การเจริญเติบโตพอต้นไม้อายุประมาณ 5 เดือน สูงประมาณ 5 เมตร

การดูแลรักษา
ต้นตะกูสามารถหาอาหารเองได้ การดูแลรักษาจึงไม่ยุ่งยากใด ๆ เพียงแค่ช่วง 5 เดือนแรกหลังจากปลูกลงดินที่ต้องให้น้ำบ้าง หลังจากนั้นก็แค่ใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่ 1 – 2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์กินพืชเข้าไปในแปลง เพราะอาจเข้าไปกัดกินยอดและใบของต้นตะกูได้ ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงใด ๆ ในช่วง 3 ปีแรกจะต้องทำการดูแล ให้ตะกูได้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเป็นการเร่งผลผลิตและปริมาณเนื้อไม้ เพื่อให้ตะกูมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกตามธรรมชาติ ควรให้ปุ๋ยทุก 4 เดือนในระยะแรก และให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้งก่อนและหลังหน้าฝน

การใส่ปุ๋ย ( เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น )
ปีที่ 1- ครั้งที่ 1 หลังจากการปลูกลงดิน 1 เดือน- ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฤดูฝนแรก หลังจากปลูกลงดินไว้ ( ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม )

ปีที่ 2 – 5- ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ( เดือนพฤษภาคม )- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน ( เดือนกันยายน – ตุลาคม ) เมื่อไม้อายุ 2 ปีขึ้นไป ในช่วงแรกที่ต้นตะกูยังไม่โต ให้ทำการดายวัชพืช ไม่ให้วัชพืชสูงคลุมต้นกล้า เมื่อต้นไม้สูงพ้นวัชพืชแล้ว ทำการดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เพียงพอ ในช่วงระยะที่เจริญเติบโตตะกูสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีความจำเป็นในการลิดกิ่งเหมือนป่าชนิดอื่น ๆหากต้องการปลูกเพื่อเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง การปลูกแบบนี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพและให้ผลตอบแทนเร็วกว่าปกติ เนื่องจากสามารถควบคุมไม้ให้มีคุณภาพดี สามารถควบคุมแปลงปลูกทั้งในเรื่องจำนวนการปลูก การให้ปุ๋ย และการดูแล โดยจะทำการตัดโค่น เพื่อทำกำไรช่วงแรกในปีที่ 5 จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ไม้ที่เหลืออยู่มีระยะห่างพื้นที่ในการเจริญเติบโตการปลูกแบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะไม่ต้องดูแลหรือบำรุงรักษามาก เพียงแค่ดูแลเมื่อแรกลงกล้าพันธุ์ไม้จนกระทั่งแน่ใจว่าไม้อยู่รอดแล้ว จากนั้นก็ปล่อยให้เจริญเติบโตตามสภาพแวดล้อม

No comments: