Wednesday, September 3, 2008

ไม้เศรษฐกิจไทย






งานอดิเรกของกระผมคือเก็บเมล็ดต้นไม้   :shock:     ทุกชนิดที่เจอครับ

รู้จักพันธุ์ไม้มากมายจึงมีบริการจัดหาเมล็ดให้ตามออเดอร์ที่สั่ง ราคาขึ้นอยู่กับยากง่าย ขนาดและน้ำหนักของเมล็ด ระยะทางที่เดินทางไปเก็บมาจากต้นแม่พันธุ์ดีที่อาจอยู่ไกล เป็นต้น

 

ตอนนี้ ไม้ที่ออกเมล็ดพร้อมอบแห้งจำหน่าย  ดังนี้

                                    (ราคาบาท/ปริมาณ )

สักทอง      300/ 100 กรัม

มะค่าแต้    150/ 100 กร้ม

นนทรีป่า    550/ 100 กรัม

แดง          700/ 100 กร้ม

กระบก      400/ 1 กิโลกรัม

ตะกูยักษ์   500/ 100 กรัม

ประดู่ป่า(ตัดปีก)   400/100 กรัม

หางนกยูง  180/ 100 กรัม

มะฮอกกานี (จากหลวงพระบาง ประเทศลาว ต้นใหญ่มากกกกก กว่า 60 ปี) 550/100 กรัม

ราชพฤษช์  300/100 กร้ม

 

และอื่นๆ

ป.ล. เมล็ดทุกชนิดวัดน้ำหนักจากเมล็ดล้วนๆที่แห้งแล้ว

 

สนใจติดต่อ คุณ นพ  0877700119  /  0807448129

 

อีกทั้งมีกล้าไม้จำหน่ายถูกๆ

สักทอง  3 บาท                สูง 15-20 นิ้ว

ยางนา    8 บาท                สูง  8-10 นิ้ว

มะฮอกกานี 7 บาท           สูง 20 นิ้ว

กฤษณา  10 บาท             สูง 25 นิ้ว

ยูคาลิปตัส 1.20 บาท       สูง 20 นิ้ว

น้อยหน่า 4 บาท               สูง 20 นิ้ว

ขนุน       8 บาท               สูง 30 นิ้ว

ตะกู       5 บาท                สูง 13 นิ้ว

 

ตะเคียนทอง ต้นลูกเดียวกันกับที่ใช้ทำเรือพระที่นั่งพระสุพรรณหงษ์ ของในหลวง

มีอยู่จำกัด 55 ต้น ทุกต้นอายุประมาณ 1 ปี 9 เดือน สูง 90-100 cm

ขายต้นละ 599 บาท เท่านั่น

 

และอื่นๆมากมาย สอบถามได้ครับ

สนใจติดต่อ คุณ นพ  0877700119  /  0807448129


  
 











ยินดีต้อนรับท่านที่เข้ามาชมเว็บของเรา เว็บไซค์นี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจ สำหรับการแปรรูปก่อสร้างบ้านเรื่อง เฟอร์นิเจอร์ กล่าวคือไม้เนื้อแข็งที่นิยม หรือกำลังจะนิยม ให้ท่านได้ศึกษา ประกอบการตัดสินใจปลูกของท่าน ซึ่งไม้ที่ให้ข้อมูลทุกชนิดในเว็บไซค์นี้ ทางผู้สร้างเว็บปลูกไว้ในโครงการสวนป่าเพื่ออนาคตแล้วทั้งสิ้น


อีก 6 ปี ทำไงดีจะมีเงินล้านใช้...???
เฮ้อ เหนื่อยใจ เรียนจบมาในยุคสมัยข้าวยากหมากแพง ค่าแรงถูก งานหายาก โลกก็ร้อน น้ำมันก็แพง เอาไงกับอนาคตดี!!
คำด้านบนนี้คือความคิดของเด็กมหาลัยคนหนึ่ง ที่เรียนคณะคอมพิวเตอร์มหาลัยขอนแก่น คนนั้นคือใคร? ผมเองมั้ง อิอิ
เมื่อพ่อแม่ ไม่ใช่เศรษฐี และไม่มีมรดกอะไรให้ แต่มีเพียงสิ่งเดียวคือคำสอนดีๆและหนี้ชีวิตที่ไม่มีวันใช้หมด เช่นนั้นแล้วเรามาสร้างมรดกให้ตัวเองกันเถอะ ปลูกต้นไม้ไง ซักหมื่นต้น อีก 10 ปีข้างหน้า ตัดขายต้นละ 3000 บาท ก็ปาไป 30 ล้านบาทแล้ว คาดว่าอาจจะได้เป็นเศรษฐีกับเขามั้ง อีกอย่างเป็นการทำให้พ่อแม่ ภูมิใจด้วย เป็นการทำบุญไปในตัว คือการสร้างก๊าซออกซิเจน ให้มนุษยชาติ โหหหหห กุศลอย่างแรง อิอิอิ
ปลูกต้นไร มั้ง?
  1. ตะเคียนทอง 1000 ต้น
  2. ตะกู 3000 ต้น
  3. สะเดา 1000 ต้น
  4. ประดู่ป่า 500 ต้น
  5. มะค่าแต้ 1000 ต้น
  6. มะฮอกกานี 1000 ต้น
  7. กฤษณา 500 ต้น
  8. ยางนา 2000 ต้น

รวมแล้ว = 10,000 ต้น

ยางนา
Dipterocarpus alatus
Roxb.

ลักษณะทั่วไป

ยางนา เป็นไม้ที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง เพราะเป็นที่นิยมใช้สอยกันมาก ในการก่อสร้างบ้านเรือนและในการทำไม้อัด รวมทั้งส่งออกไป จำหน่ายยังต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ยังให้ น้ำมันยาง ซึ่งใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและ ในการทำไม้อัด รวมทั้งส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ยัง ให้น้ำมันยาง ซึ่งใช้ในการทำไต้ ยาเรือ ทำน้ำมันทา

บ้าน ตลอดจนใช้เป็นยารักษาโรค

แต่ปริมาณไม้ยางนาในปัจจุบันได้ลดน้อย

ลงมาก เนื่องจากการทำไม้และโดยที่ไม้ยางนาส่วนใหญ่ จะขึ้นอยู่ในที่ราบริมน้ำซึ่งจะถูกบุกรุกแผ้วถาง กลายเป็นเรือกสวนและไร่นาทำให้เกิดความจำเป็น ที่จะต้องทำการปลูกสร้างสวนป่าไม้ยางนาขึ้น ทดแทนในพื้นที่ที่เหมาะสม และหาวิธีการเพิ่ม ปริมาณไม้ยางนาในป่าธรรมชาติให้เพิ่มมากขึ้น

ไม้ชนิดนี้มีชื่อพื้นเมืองแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ยางนา ยางขาว ยาง ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่ว ไป) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี) ราลอย (สุรินทร์) ลอยด์ (นครพนม) ทองหลัก (ละว้า) ยางตัง (ชุมพร) จะเดียล (เขมร) เคาะ (เชียงใหม่) ขะยาง (นครราชสีมา) กาดีล (ปราจีนบุรี) โดยยางนานี้ จัดอยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae สกุล Dipterocarpus มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเกาะบอร์เนียว ไม้ยางนา ชอบ ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่ม ีความชุ่มชื้นโดยเฉพาะในที่ราบริมน้ำ ทั่วไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติปกติไม่ดีนักจึงทำให้ พบแต่ไม้ยางนา ที่มีขนาดใหญ่เป็นส่วนมากกล้าไม้มีน้อย

ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูง 30 – 40 เมตร ความสูงถึงกิ่งสดกิ่งแรกประมาณ 20 เมตร

ลำต้น เปลาตรง เปลือกเรียบหนา

เนื้อไม้ สีน้ำตาลแดง

ใบ เป็นรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด 8-15 x 20-35 เซนติเมตร เนื้อใบหนาปลายใบสอบเรียว โคนใบเรียบ เส้นแขนงใบมี 14 – 17 คู่ ก้านยาว 4 เซนติเมตร กาบหุ้มยอดมีขนยาวๆ สีน้ำตาล

ดอก เป็นสีชมพูออกเป็นช่อสั้นๆตามง่าม ใบตอนปลายๆกิ่ง กลีบรองกลีบดอกตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยและมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 แฉกสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานติดกันปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรตัวผู้มี 29 อันรังไข่มี 3 ช่อง ไข่อ่อนช่องละ 2 อัน

ผล มีลักษณะกลม มีครีบตามยาวตลอด 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีกขนาด 2.5-3 x 10-12 เซนติเมตร ปีกสั้น 3 ปีก เป็นรูปหูหนู

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ยางนา ยางนาเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบชายลำธาร ในป่าดิบทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200 –600เมตร มีลักษณะการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ บังคลาเทศ ตอนใต้ของพม่า ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม สำหรับการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยนั้นไม้ยางนา สามารถขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือมีใน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และกระจัดกระจาย ทั่วไปในป่าสองข้างถนนสายลำพูน ตาก กำแพงเพชร และจากกำแพงเพชร นครสวรรค์ จะพบเห็นยางนาขึ้น กระจัดกระจายอยู่ทั้งสองฝั่งถนน และมีมากในจังหวัด นครสวรรค์ และอุทัยธานี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบทั่วไปในจังหวัดเลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ในภาคกลางขึ้นอยู่ทั่วไปแถบจังหวัดสระบุรี และ กาญจนบุรี ในภาคตะวันออกสามารถขึ้นอยู่ได้ในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี และตราด ในภาคใต้ พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรี ธรรมราช และตรัง

การพัฒนาของดอกและผลของไม้ยางนา

เมื่อฤดูฝนผ่านพ้นไปไม้ยางนาจะแตกใบอ่อนหลายครั้งในระหว่างปลายเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก การแตกใบอ่อนของไม้ยางนาจะเริ่มต้น หลังจากไม้ยางนาทิ้งใบหมดแล้ว ซึ่งจะกินเวลา 2 สัปดาห์ แต่ในบริเวณเดียวกันไม้ยางนาแต่ละต้นจะมีการร่วงของใบไม่พร้อมกัน เมื่อใบร่วงหมดส่วนปลายของกิ่งจะเริ่มพองตัว และยื่นยาวออกมีลักษณะเป็นกาบหุ้มปลายยอด และมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่หุ้มตาซึ่งอยู่ในหูใบ จะยืดยาวเต็มที่แล้วคลี่ออกในที่สุดจะล่วงหล่นไป หูใบที่ห่อหุ้มส่วนยอดจะปรากฎเป็นชั้นๆ ซึ่งเป็นชั้นของแต่ละปล้อง ด้านนอกของหูใบจะมีขน ซึ่งภายในจะมีตาที่จะเจริญเติบโตเป็นกิ่งก้านต่อไป การเจริญเติบโตของกิ่งก้านนี้ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีประมาณ 6 – 8 ปล้อง

เมื่อไม้ยางนาเจริญเติบโตถึงระยะออกดอกผลได้แล้ว การแตกใบอ่อนของไม้ยางนาจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งมีตาดอกเกิดขึ้นที่ข้างกิ่งที่แตกออกมาใหม่ เมื่อใบอ่อนเริ่มคลี่ออก ช่อดอกก็จะเริ่มขยายตัวไปพร้อมๆกัน และจะมีการเจริญ ของดอกจากโคนไปยังปลายของช่อดอกซึ่งเป็นแบบ raceme ดอกมกลีบเลี้ยงเป็นห่อและมีหูยาวยื่นออกมา 2 หู กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนของกลีบดอกติดและซ้อนเรียงกันเป็นวงกลม ดอกยางนามีเกสรตัวผู้เป็นจำนวนมากประมาณ 29 – 36 อัน เรียงกันเป็นวงรอบ 3 วง การผสมเกสรของดอกยางนามีทั้งผสมในตัวเองและผสมข้ามดอก เกสรจะช่วยดึงดูดแมลงให้ช่วยผสมเกสร โดยเฉพาะผึ้งเป็นแมลงที่ช่วยในการผสมเกสรของดอกยางนาอย่างมาก ผลของยางนาจะมีฐานห่อหุ้มด้วยท่อกลีบเลี้ยงแต่ไม่เชื่อมติดผล ฐานกลีบเลี้ยงนี้จะเจริญเติบโตขึ้นตามขนาดของผล และจะมีขนาดใหญ่เป็นปีกสองปีก ตามปกติช่อดอกยางนาช่อหนึ่งจะติดผลเพียง 1 – 3 ผลเท่านั้น

ไม้ยางนาต้นหนึ่งๆ จะให้ผลจำนวนมาก ผลจะแก่จัด ในราวต้นเดือนพฤษภาคม แล้วร่วงลงสู่พื้นดิน แต่ผล ยางนาที่ร่วงหล่นถึงพื้นดินจะเป็นเมล็ดดีเพียงประมาณ 30% ของผลยางนาทั้งหมดที่ผลิตได้ ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อการสืบพันธุ์ ผลยางนาที่หล่นถึงพื้นดินแล้วจะมีเมล็ด ที่ใช้ทำการเพาะได้เพียง 57% นอกนั้นจะถูกแมลงทำลาย 34% และเน่าเสีย 9%

ระยะออกดอกออกผล แบ่งเป็นระยะได้ ดังนี้ 1. ระยะเจริญของตาปลายสุด เริ่มต้นตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ผลิต bud swelling 2. ระยะแตกใบอ่อนและแตกช่อดอก ประมาณปลายเดือนมกราคม ใช้เวลา 2 สัปดาห์ 3. ระยะดอกเริ่มบาน ประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ดอกก็จะร่วง 4. ระยะติดลูก ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ดอกปลายสุดที่บานกลีบเริ่มร่วง ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 5. ระยะการเจริญเติบโตของผลประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงปลายเดือนมีนาคม 6. ระยะผลร่วงประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม จึงร่วงหมด

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้าไม้ยางนา

ปกติไม้ยางนาจะให้เมล็ดต่อต้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะให้เมล็ดที่สมบูรณ์ ประมาณ 70–80% ของเมล็ด ทั้งหมดการขยายพันธุ์เพื่อการปลูกสร้างสวนป่านิยมใช้เมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์ เพราะสามารถเตรียม กล้าไม้ได้เป็นจำนวนมาก และง่ายในการดูแลรักษา

1. ลักษณะเมล็ด

เมล็ดยางนาก็คือผลของยางนานั้นเอง ในผลหนึ่ง จะมีเพียงเมล็ดเดียว และการเก็บเมล็ดและเพาะ เมล็ดยางนาก็คือการเก็บทั้งผลและเพาะทั้งผล นั้นเอง เพราะเมล็ดมีกระเปาะซึ่งมี 5 แฉกหุ้ม ไว้เกือบมิด และมี 2 ตุ่ม ซึ่งเจริญยาวกลายเป็น ปีกของผลหรือเมล็ดระหว่างปีกทั้งสองมีปลาย แหลม ซึ่งเป็นปลายรากของเมล็ด ถ้าพิจารณาดูจากภายนอกเปลือกหุ้มจะพองนูน สม่ำเสมอปลายรากซึ่งอยู่ระหว่างปีกทั้งสองมีสี เขียวอ่อนและสด ถ้าผ่าดูภายในเมล็ด เนื้อของ Cotyledon จะมีสีขาวและมีเส้นสีน้ำตาลกระจัด กระจายบีบดูรู้สึกนุ่มมือและมียางเหนียว ลักษณะ เมล็ดเสีย ถ้าพิจารณาดูจากภายนอกจะเห็นว่า เปลือกหุ้มเมล็ดมักแฟบลง หรือแฟบที่ขั้วของผล จะแห้ง ปลายรากของเมล็ดเหี่ยวซีด ถ้าผ่าดูภาย ในเมล็ดส่วนที่เป็น Cotyledon จะแข็งและล่อน ไม่ติดกับเปลือกนอก เนื้อของเมล็ดในจะมีสีน้ำ ตาล จำนวนและน้ำหนักของเมล็ดยางนา 1 ถัง (20ลิตร) มีปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 900 เมล็ด หรือ 228 เมล็ดต่อ 1 กิโลกรัม

2.การเก็บเมล็ดไม้ยางนา

ผลยางนาจะแก่ในราวเดือนมีนาคม พฤษภาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ ภูมิอากาศและแต่ละท้องที่ ่ จากการศึกษาไม้ยางนาในประเทศ ไทยพบว่า ไม้ยางนาในภาคใต้จะแก่ ก่อนในภาคกลางและภาคอีสาน ใน ภาคเหนือจะแก่หลังสุดการแก่ของ ผลยางนาเราดูได้จากสีของปีกจะ เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำตาล ร่วง ลงมาจากต้น 1-2วัน ความมีชีวิต ของเมล็ดจะมีประมาณ 75% เมล็ด จะถูกทำลายโดย ค้างคาวหนู กระรอก และแมลงต่างๆ ประมาณ43% และอีก 9% เป็นเมล็ดที่ตายหรือไม่สมบูรณ์ เมล็ดยางนาไม่สามารถลดความชื้น ภายในเมล็ดลงให้เหลือน้อยๆได้ ถ้า ความชื้นลดลงมากเมล็ดจะไม่สามารถ งอกได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บเมล็ด คือเก็บจากบนต้น เมื่อเมล็ดแก่ก่อนจะ ร่วงลงมาแล้วทำการรีบเพาะทันที

3. การเก็บรักษาเมล็ดยางนา ความมีชีวิตของเมล็ดในวงศ์ยางเกี่ยวข้อง กันอย่างมากกับความชื้นภายในเมล็ด และ พบว่าความชื้นภายในเมล็ดน้อยกว่า 30% เมล็ดในวงศ์ยางจะตาย หรือมีเปอร์เซ็นต์ การงอกน้อยมาก อย่างไรก็ตามการศึกษา เรื่องเมล็ดไม้ยางนาที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ ป่าอาเชี่ยน-แคนาดา จังหวัดสระบุรี พบ ว่าเมล็ดไม้ยางนาที่ทำการเก็บในเดือน พฤษภาคม 2527 หลังจากเก็บไว้ 30 วัน ในร่มซึ่งมีความชื้นเหลือเพียง 10.80% ยังสามารถงอกได้ถึง 24% โดยพบว่า ความชื้นของผลมีอยู่ในส่วนปีกมากที่สุด ดังนั้นถ้าเราทำการเด็ดปีกออกก่อนทำการ เก็บเมล็ดจะสูญเสียความมีชีวิตเร็วกว่า เก็บไว้ทั้งปีกมากและจากการทดลองการ เก็บรักษาเมล็ดในถุงผ้าพบว่าเก็บไว้ที่ อุณหภูมิ 15? C จะเก็บไว้ได้นานที่สุด รองลงมาคือเก็บไว้ในสภาพธรรมชาติ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20? C น้อยที่สุด

4. การเพาะเมล็ดไม้ยางนา การเพาะไม้ยางนาเพื่อการวิจัยในห้องเพาะเมล็ด พบว่า เมื่อทำการเพาะเมล็ดที่เก็บในสภาพธรรมชาติโดดเด็ด ปีกก่อนจะเริ่มงอกหลังจากเพาะ 4? วัน และจากที่เก็บ ไว้ในห้องเก็บเมล็ดไม้ที่อุณหภูมิ 15? C เมล็ดจะเริ่มงอก หลังจากเพาะ 6? วัน และจะทยอยงอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 30 วัน

ในการเพาะเมล็ดเพื่อปลูกสร้างสวนป่าหรือเพื่อต้องการ กล้าไม้จำนวนมากๆ จะทำการเพาะในกระบะเพาะหรือ ในหลุมดินโดดเด็ดปีกออกเสียก่อน แล้วนำเมล็ดกอง รวมกัน ใช้กระสอบหรือฟางหรือใยมะพร้าวคลุมเมล็ด แล้วรดน้ำเช้า เย็น ทุกวันหลังจากเพาะได้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมล็ดก็จะเริ่มงอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ประมาณ 1 เดือนหลังตากเพาะ

5. การงอกของเมล็ด ผลยางนาเมื่อหล่นถึงพื้นดินแล้วและมรสภาพดีเมื่อได้รับน้ำฝน มันจะเริ่มงอกทันทีเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดจะดี เมื่อหล่นลงมาไม่เกิน 10 วัน ดังนั้น ระยะเวลาที่เมล็ดยางนางอกได้ดีจึงมีลักษณะจำกัด อาจเป็นอุปสรรคต่อการสืบ พันธุ์ได้อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าพื้นที่ตรงเมล็ดตกรกไปด้วยเศษไม้ และวัชพืชจนเมล็ดไม่สามารถหล่น เมื่ออยู่บนพื้น หรืออยู่ใต้ผิวดินเล็กน้อยของแปลงเพาะที่มีความชื้น เมล็ดไม้ยางนามีอัตรางอกในตัวกลางที่เป็นขี้เถ้าแกลบสูงสุด 43.33% ดินถึงดินในช่วงเวลานั้น เมล็ดของพรรณไม้สกุลนี้จะงอกได้ดีที่สุด 38.00% ทราย 37.33% และดินปนทราย น้อยที่สุด 30.67%

6.การรอดตายของกล้าไม้

การอยู่รอดของกล้าไม้ถือเป็นระยะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าไม้ชนิดนั้นๆ จะสามารถตั้งตัวอยู่ในถิ่นนั้นได้หรือ ไม่ การอยู่รอดของกล้าไม้ยางนา มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง อัตราการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาทาง ส่วนสูงที่ปลูกโดยได้รับร่มระดับต่างๆ กันไม่มีผลแตกต่างจนมีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด นั่นคือกล้าไม้ ยางนาไม่ค่อย จะสนองตอบแสงสว่างเต็มที่มากมายนักเมื่อยังมีขนาดเล็กอยู่และเป็นไม้ชอบร่มปานกลาง การศึกษาการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาในป่าภูหลวง ต.วังน้ำเขียว อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พบว่าความแตกต่างระหว่างการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาที่ทำ การแผ้วถางเปิดแสงสว่างกับที่ปล่อยตาม ธรรมชาติไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่เปอร์เซ็นต์การรอดตายของกล้าไม้ยางนา ในแปลงที่เปิดแสงสว่างะมากกว่า คือ รอดตาย 60.70 และ 40.62% เมื่อเปรียบเทียบกับที่ปล่อยตามธรรมชาติ จะมีอัตรารอดตายเพียง 53.22% และ 27.35% เพราะเหตุว่าการถางไม้ยืนต้นและไม้ชั้นล่างลงทำให้ไม้ยางนา ได้รับอาหารและแสงสว่างมากขึ้น อันตรายที่จะได้รับจากการเบียดบังโดยไม้ใหญ่น้อยลง ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงขึ้น จึงเห็นได้ว่านอกจาก แสงสว่างแล้ว การแข่งขันกันทางเรือนรากมีผลต่อ การรอดตายของกล้าไม้เป็นอย่างมาก ระบบรากของกล้าไม้ ยางนาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำการศึกษาความเจริญของกล้าไม้ยางนาใน 120 วันแรกนั้น ความยาวของรากจะมาก กว่าความยาวของลำต้น แต่น้ำหนักของลำต้น มากกว่าน้ำหนักของรากโดยทั่วไปอาจจะกล่าวได้ว่าความสามารถ ของชนอดไม้ต่างๆ ที่จะทนอยู่ในมภาพพื้นที่หนึ่งที่ได้หรือตั้งตัวในท้องที่ใหม่ต้องเกี่ยว ข้องอย่างมากกับการแตก รากของมัน และมีความสัมพันธ์อย่างดีกับน้ำในดินที่มันดึงมาใช้ได้ตามต้องการ เพื่อให้เกิดความพอดีกับปริมาณ น้ำที่สูญเสียไปโดยการคายน้ำและการเจริญเติบโต ความลึกและรูปร่างของระบบรากไม้เนื้อแข็งมีความสัมพันธ์ กับปริมาณน้ำในดิน กล้าไม้ยางนาต้องการความชื้นในดินมาก ถ้าความชื้นในดินไม่เพียงพอก็จะเป็นอุปสรรค ต่อการสืบพันธ์ ได้มีผู้ทำการทดลองแล้วปรากฎว่าความชื้นในดินมีผลต่อการเจริญ เติบโตและการรอดตายของ กล้าไม้ยางนา กล่าวคือ เมื่อความชื้นที่ปลายรากกล้าไม้ 47.71% กล้าไม้เริ่มเหี่ยว และตายเมื่อมีความชื้น 21.75% และใบจะเริ่มลดลงเมื่อความชื้น บริเวณปลายราก 65.07% (เสวก, 2508)

7.การย้ายกล้าไม้ยางนา

เมื่อเมล็ดไม้ยางนางอกรากออกมาราวประมาณ 1 นิ้ว ก็ทำการย้ายลง ไปปลูกในถุงพลาสติกขนาด 4”x6” ระยะนี้กล้าไม้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่ง เมื่อย้ายปลูกได้ ประมาณ 1 เดือน ทำการคัดเลือกกล้า ไม้ต้นลักษณะดีย้ายไปปลูก ในถุงขนาดใหญ่ขึ้นขนาด (5”x8” ขึ้นไป) เพื่อให้รากเจริญได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถ้าเรา ไม่มีการย้ายลงถุงใหญ่ กล้าไม้จะไม่เจริญต่อไป และเมื่อเราทำการตัดแต่งรากส่วยยอดของกล้าไม้ จะตายเหลือความสูงประมาณความยาวของราก เท่านั้น และควรเลี้ยงกล้าไม้ยางนาในถุงใหญ่นี้ ให้มีอายุอย่างน้อย 1 ปี จึงนำไปปลูกในพื้นที่ต่อไป

การเตรียมพื้นที่ปลูกไม้ยางนา

การปลูกไม้ยางนาควรมีร่มเงาประมาณ 1-2 ปีแรกของการเจริญเติบโต จึงต้องมีการเตรียมพื้นที่สำหรับ ปลูกไม้ร่มเงาก่อน หรือในกรณีที่ตัดไม้ใหญ่ลงก็ควรเหลือร่มเงาสำหรับกล้าไม้ การตัดไม้ร่มเงาออกควร ทำหลังจากผ่านปีแรกไปแล้ว โดยค่อยๆเปิดร่มเงาออกและมีการควบคุม วัชพืชอย่างดีในระยะ 1-2 ปี ในปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดที่แน่นอนว่า การปลูกสร้างสวนยางนา จำเป็นต้องปลูกไม้ชนิดอื่นเพื่อเป็นร่มเงา ให้ต้นยางนาหรือไม่ แต่โดยที่สังเกตจากธรรมชาติลูกไม้ยางนาชอบขึ้นตาม บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง แต่ขณะ เดียวกันต้องมีไม้ใหญ่ๆบดบังอยู่ จึงจำเป็นต้องปลูกไม้อื่นเป็นร่มเงาด้วย ไม้ที่จะเป็นร่มเงานี้ควรจะเป็นพันธุ์ ไม้ที่โตเร็วพวกตระกูลถั่วหรือปลูกพืชโดย ระบบวน-เกษตร จากการสังเกตในป่ายางนาธรรมชาติที่มีชาวบ้าน เข้าไปบุกรุกแผ้วถางแล้วปลูกกล้วยน้ำว้า โดยในไร่กล้วยเหล่านี้ได้พบเห็นลูกไม้ยางนาขึ้นงอกงามดีมาก แสดงให้เห็นว่า กล้วยกับไม้ยางนาไม่เป็นอันตรายแก่กัน ในขณะเดียวกันแม้พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ จะให้ประโยชน์ หลายอย่าง อาทิเช่น ไม้ฟืน ถ่าน เป็นต้น แต่ถ้าจำเป็นต้องตัดตั้งแต่ลำต้นยังเล็กอยู่ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด มากนัก แต่สำหรับกล้วยนั้นดูน่าจะมีประโยชน์ดีกว่าหลายอย่าง อาทิเช่น

(1) สามารถให้ผลผลิตรวดเร็วในปีที่ 2 จึงทำให้สามารถ ชักจูงราษฎรกล้าลงทุนแทน ทำให้มีการปลูกสร้างสวนป่า ในรูปแบบวนเกษตร (2) กล้วยสามารถ ใช้เป็นอาหารที่นิยมบริโภคทั้งภายใน และต่างประเทศ หากมีสวนกล้วยเป๋นจำนวนมากอาจก่อ ให้เกิดอุตสาหกรรมติดตามมาภายหลังได้ (3) กล้วยอาจจะเจริญเติบโตได้ดีในสวนยางนาเป็นระยะ เวลานานประมาณ 10 ปี จึงนานพอที่ผู้ลงทุนปลูกกล้วย สามารถเรียกทุนคืนได้ (4) ในปัจจุบันนี้ราษฎรขาดแคลนพื้นที่ที่ทำมาหากิน ดังนั้นจึงสามารถให้สวนยางนาเป็นที่ทำมาหากินแก่ ราษฎรได้ด้วย

การปลูกกล้วยในสวนป่ายางนา เมื่อระยะเวลานานขึ้น พื้นที่นั้นจะกลายเป็นสวนกล้วยไปแทนที่จะเป็น สวนยางนา เรื่องนี้น่าจะแก้ไขได้ เพราะอยู่ที่ตัวบุคคลและแผนดำเนินงาน ในการปลูกกล้วยเป็นร่มเงาให้ ไม้ยางนาที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว เริ่มปลูกเมื่อฝนตกชุกพอสมควรระหว่างเดือนมิถุนายน แต่ถ้าปลูกได้เร็วกว่านี้ อาจจะทำให้สามารถตั้งตัวได้เร็วกว่า แต่อาจจะมีปัญหา เกี่ยวกับการหาจำนวนหน่อกล้วย ซึ่งขุดย้ายลำบาก เพราะดินแข็ง การปลูกกล้วยในฤดูเดียวกับการปลูกไม้ยางนานั้น ในระยะปีแรกกล้วยยังไม่ได้ช่วยให้ร่มเงา แก่กล้าไม้ยางนามากนัก เพราะหลุมหนึ่งมีกล้วยเพียงต้นเดียว หรือแม้จะใช้ต้นไม้ชนิดอื่นเป็นร่มเงาก็เช่น เดียวกัน เพราะยางนา และพันธุ์ไม้ที่ให้ร่มเงาก็เช่นเดียวกัน เพราะยางนาและพันธุ์ไม้ที่ให้ร่มเงาสามารถ เจริญเติบโตได้ไล่เลี่ยกัน ด้วยเหตุนี้ถ้า จะใช้กล้วยเป็นร่มเงาให้ยางนา จึงควรปลูกกล้วยไว้ก่อน 1 ปี และใน ปีที่ 2 จึงปลูกไม้ยางนาระหว่างกล้วย

 

การปลูกและระยะปลูกของไม้ยางนา

การปลูกสร้างสวนป่าในประเทศไทย ในส่วนของกรมป่าไม้เท่าที่ผ่านมาก็เพียงปลูกไม้ยางนา ผสมในพื้นที่ บ้างเล็กน้อย ส่วนด้านองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ก็เพิ่งริเริ่มปลูกสร้าง สวนป่าไม้ยางนาเมื่อไม่นาน มานี้เอง ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกทางภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดตรัง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกที่ สวนป่าจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้ระยะปลูก 4x4 ม. ปรากฏว่า ไม้ยางนามีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง และมีการ เจริญเติบโตดีเป็นส่วนใหญ่

การปลูกไม้ยางนาควรทำในฤดูฝนเพราะในช่วงนี้กล้าไม้ยางนามีการเจริญเติบโต ดีสามารถตั้งตัวได้ง่าย เมื่อฤดูฝนผ่านไปแล้วก็เป็นระยะที่ต้นยางตั้งตัวได้แล้วจะเจริญเติบโตต่อไป

การบำรุงดูแลรักษาสวนป่าไม้ยางนา

1. การดายวัชพืช ควรดายวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ ภายในเดือนกรกฎาคม เดือนกันยายน และเดือน พฤศจิกายน โดยในการดายวัชพืชให้ชิดดินให้ตลอด ไปก่อนแล้วจึงใช้จอบดายรอบๆต้น อีกครั้งหนึ่ง

2. การป้องกันไฟ ในเดือนกุมภาพันธ์วัชพืชในสวนป่าเริ่ม จะแห้ง อาจเป็นเชื้อไฟได้จึงต้องทำการป้องกันไฟ การ ป้องกันไฟที่อาจเกิดขึ้นในสวนป่าใช้วิธีถางวัชพืชตลอด ทั้งหมดแล้วรวมกองเล็กๆ แล้วชิงเผาเสียก่อน การป้องกัน ไฟจากภายนอกใช้วิธีการดายวัชพืชเป็นแนวกันไฟรอบๆ สวนป่า

 

3. การปลูกซ่อมกล้ายางนา กล้าไม้ยางนาที่ปลูกในปีหนึ่งๆ จะมีบางต้นตาย จึงจำเป็นจะต้องมีการปลูกซ่อมทดแทน ซึ่งถ้าใช้กล้าไม้ที่มีอายุเท่าๆ กันก็จะทำให้ยางนาสามารถ เจริญเติบโตได้ไล่เลี่ยกัน ฉะนั้นในการเพาะเมล็ดยางนา แต่ละปีจำเป็นจะต้องเพาะเผื่อไว้เพื่อปลูกซ่อมด้วย แต่ละ ปีจะต้องเตรียมไว้ประมาณ 30 – 40 เปอร์เซ็นต์ของกล้า ไม้ที่ปลูก ส่วนกล้าไม้ยางนาที่เตรียมไว้และเก็บไว้ในปี ต่อไปนั้น ส่วนใหญ่รากจะแทงทะลุถุงพลาสติกลงไปใน ดินเมื่อย้ายหรือเปลี่ยนหรือยกถุงกล้าไม้ จะทำให้รากขาด หรือระบบรากถูกกระทบกระเทือนเมื่อนำไปปลูกหรือปลูก ซ่อมในสวนป่าอาจจะตายได้ จึงจำเป็นจะต้องทำแปลง เพาะเลี้ยงกล้าไม้ค้างปี โดยใช้วิธีขุดดินแล้วเอาดินออกลึก ประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วนำทรายมาใส่แทนดินเดิม ให้ได้ระดับดินเดิมแล้วย้ายกล้าไม้ยางนาในถุงพลาสติก ขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนไว้แล้วมาตั้งเพาะเลี้ยงไว้บนทราย แล้วรดน้ำให้ชุ่มและบ่อยๆ ทุกวัน เพื่อให้กล้าไม้ที่ต้อง ถอนจนรากขาด หรือถูกกระทบกระเทือนมากก็จะตาย ไปในแปลงเพาะเลี้ยงนั้น จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการ นำไปปลูก อนึ่ง การทำแปลงเพาะเลี้ยงกล้าไม้ยางนา ควรทำภายในเดือนเมษายน

โรค แมลงและศัตรูพืชธรรมชาติของไม้ยางนา

แมลงที่ทำอันตรายแก่เมล็ดยางนามีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ Culladia sp. , Cramlus sp. , Enzophera sp. ใน Family Pyralidae  และ Cryphorhymchus sp. ใน Family Curaelionidae แมลงเหล่านี้จะเป็นตัวแก่ในระยะที่ต้นยางนา ออกดอก และเข้าไปวางไข่ไว้ในดอกเมื่อยางนาเป็นผล ตัวหนอนของแมลงก็จะเข้าทำลายภายในผล เมล็ด ยางนาส่วนมากจึงถูกทำลายตั้งแต่อยู่บนต้น ซึ่งเป็นการยากที่จะป้องกันได้ ส่วนผลยางนาที่หล่นลงสู่พื้นดินแล้ว บางส่วนยังถูกปลวกเข้าทำลายให้เสียหายอีกด้วย นับว่าเมล็ดยางนามีศัตรูที่คอยจะทำอันตรายมากพอสมควร และยากที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย ที่จะได้รับนั้นได้ลักษณะการทำลายของแมลงต่อไม้ยางนามีทั้งหมด 7 แบบ ดังต่อไปนี้

1. เจาะคอราก เป็นหนอนด้วงหนวดยาว ในวงศ์ Cerambycidae อันดับ Coleoptera ตัวหนอน : สีขาว ความยาวประมาณตั้งแต่ 2.9 – 8 ซม. ไม่มีขน ส่วนหัวสีน้ำตาล กว้างประมาณ 1.5 ซม. มี manible สีดำ ลำตัวมี 11 ปล้อง

ตัวเต็มวัย : สีเขียวตองอ่อน มีจุดประสีดำที่ขอบปีก ลำตัววัดจากส่วนหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ 3.3 ซม. กว้างประมาณ 1 ซม. โคนปีกกว้างประมาณ 1.2 ซม. หนวดสีดำ มีทั้งหมด 11 ปล้อง

ชีวประวัติ : ตัวหนอนเจาะอาศัยอยู่ภายในลำต้นของไม้ยางนา พบว่ารูที่เจาะมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มีขนาด ตั้งแต่ 1 – 3 ซม. ทิศทางของรูไม่แน่นอน ตัวหนอนอาศัยอยู่ทั้งในส่วนรากที่มีขนาดใหญ่และส่วนของลำต้น ตั้งแต่ระดับคอดินไปจนถึงประมาณ 77 ซม. จากพื้นดิน โดยที่ทุกรูจะมีทางติดต่อกันได้ตลอด ในรูที่ใช้ขับ frass นั้น มีขนาดประมาณ 1x1.8 ซม.เป็นรูป วงรีตั้งขึ้นที่ระดับคอดินหรือสูงไม่เกิน 1 ฟุต ได้ทำการสุ่มตัดต้นยางนา พบว่ามีรูที่ระดับคอดินและรูที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 13 ซม. มี frass ขับออกมาที่ระดับ 13 ซม. ซึ่งเป็นรู ขนาดใหญ่ เมื่อผ่าดูพบว่า frass ที่อยู่ภายในมีลักษณะเป็นเส้นเพียงบางเบาและพบตัวหนอนขนาดใหญ่ภายใน ส่วนในรูอื่นๆแม้แต่ในราก พบว่ามี frass สีน้ำตาลอัดแน่นภายใน

การกำจัด ใช้ยา Sumithion หยอดรูทุกรูที่พบว่ามีการทำลาย ขณะที่หยอดยาฆ่าแมลงพบมีหนอนขนาดใหญ่ โผล่ออกมาที่ปากรูหลังจากหยอดยาเพียง 1-2 นาที และพบตัวเต็มวัยอยู่ที่โคนต้นระดับคอดินที่มีรูขนาดใหญ่ ขณะที่หยอดยาฆ่าแมลงด้วย

2.เจาะลำต้นและกิ่งเ ป็นหนอนด้วงหนวดยาว ในวงศ์ Cerambycidae อันดับ Coleoptera ตัวเต็มวัยและตัวหนอน น่าจะเป็นชนิดเดียวกับด้วงหนวดยาวที่เจาะคอราก ลักษณะภายนอกที่พบ คือ รูเป็นวงรี ขนาดเล็กและใหญ่คล้ายกับที่พบที่คอราก พบได้ในลำต้นปกติ มีเพียง 1-2 รูเท่านั้นที่ตัวหนอนใช้ขับ frass ออกมา frass ที่ตกอยู่ที่โคนต้นมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พบที่คอราก เพียงแต่จุด ที่ตกของ frass จะอยู่ห่างจากโคนต้นเล็กน้อยทิศทางของรู (จากการทอลองใช้ลวดแทงตรวจสอบ) พบว่ามี ทิศทางขึ้นบางครั้งยาวถึง 20 ซม.

3.เจาะยอด ตัวหนอน เจาะบริเวณยอกของไม้ยางนา โดยเฉพาะยางนาที่ต้นอ่อนแอ เช่น ถูกเถาวัลย์พันจนการเจริญเติบโตไม่ดี พบตัวหนอนสีขาว มีขนาด 3-4 ซม. ส่วนหัวสีน้ำตาลเจาะภายในยอดจนกลวงพบรู 1-2 รู ที่ตัวหนอนใช้ขับ frass ออกมา มีขนาด 0.7-0.8 ซม. เป็นรูปวงรีลักษณะคล้ายพวกด้วงหนวดยาว

4. กัดกินเปลือกยอดและกิ่ง ไม่พบตัวเต็มวัย แต่ลักษณะการทำลายเป็นการกัดกินเปลือกบริเวณยอดหรือกิ่ง บางครั้งพบว่า เสียหายมากจนกิ่ง ยอดแห้งตายและพบเห็นได้ทั่วไป ลักษณะการทำลายคล้าย Aristobia approximator แต่ไม่พบตัว ทั้งที่สามารถ พบ Aristobia กินเปลือกต้นแดงที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กม.อาจเป็นไปได้ว่าเป็นตัวเต็มวัยของหนอนด้วง หนวดยาวที่เจาะคอรากนั้นเอง

5.เจาะใต้เปลือก เป็นด้วงงวง ในวงศ์ Curculionidae อันดับ Coleoptera ดักแด้สีขาว มีงวงเห็นชัดเจน งวงยาวประมาณ 0.3 ซม. ลำตัวยาว 2.0 ซม. ลักษณะที่พบเห็นจากภายนอก คือ ตัวหนอนจะขับ frass สีดำ เปียกออกมาจากเปลือกยางนา เห็นเป็นระยะ frass ที่ขับออกมาจะติดกันเป็นเส้นคล้าย frass ของ Glenea ที่ขับจากต้นสัก และเมื่อใช้มีดฝานเปลือกออก จะพบ gallery ที่มี frass สีน้ำตาลดำอัดแน่นอยู่ภายใน มีทิศทางไม่แน่นอนวนไปเวียนมา ระยะทางประมาณ 40-50 ซม. และบาง gallery จะมีการแตกสาขาจนเกือบรอบต้น ในกรณีของต้นยางนาขนาดเล็ก ถ้ามีการกินเปลือกจนรอบจะ ทำให้ต้นตายได้ แต่ถ้าเป็นต้นที่มีขนาดใหญ่ พบว่า เปลือกมีรอยแตกเห็นชัดเจน และบางครั้งมีปลวกเข้าซ้ำ ทำให้ เห็นเป็นร่องๆ ทั่วไป ดักแด้ของด้วงงวงพบภายใน gellery ที่ส่วนปลายโดยจะไม่เจาะเข้าไปในเนื้อไม้

6.เจาะกินใต้เปลือก ตัวหนอน มีสีขาว หัวโต พบบริเวณยอด หรือง่ามกิ่ง สิ่งที่เห็นได้ คือ บริเวณที่ถูกกินนั้นจะพองขึ้นมา และมียางสีเทาหม่นผสมกับ frass ปิดอยู่ ลักษณะคล้ายกับทางของปลวก แต่เมื่อแกะออกจะพบตัวหนอนอยู่ภายใน บางครั้งกินเปลือกจนเห็นเป็นรอยยุบตัวของ เปลือก ในกรณีที่เป็นต้นขนาดใหญ่

7.กินเปลือก เป็นหนอนผีเสื้อ ในวงศ์ Indarbellidae อันดับ Lepididoptera ตัวหนอน สีเขียวขี้ม้า-น้ำตาล พบตัวหนอนชักใยที่มี frass สีน้ำตาล ติดอยู่บริเวณง่ามกิ่งและตัวหนอนกินเปลือกของยางนา เห็นเป็นหลุม และเจาะ รูเข้าไปในบริเวณตา

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีแมลงที่ทำอันตรายต่อไม้ยางนาอีกหลายชนิด ได้แก่ หนอนผีเสื้อกินใบ ลักษณะการกินเช่นเดียวกับที่พบบนยางพลวง หนอนผีเสื้อ Pyralidae โดยจะนำใบสองใบมาประกบกันและกินผิวภายในเช่นเดียวกับที่พบที่ต้นรัง และแมลงค่อมทองกินใบไม้ยางนา

การใช้ประโยชน์จากไม้ยางนา เนื่องจากไม้ยางนาเป็นไม้ที่มีลักษณะสูงใหญ่ ลำต้นเปลาตรงมีเนื้อไม้ ปราศจากตาแข็ง เมื่อโต ได้ขนาดจึงสามารถให้เนื้อไม้ได้มาก เหมาะแก่ การก่อสร้างที่ต้องการใช้ไม้ขนาดใหญ่หรือ ปริมาณมากทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิต การ ใช้ประโยชน์ของไม้ยางนาในการก่อสร้าง เช่น ทำฝา พื้น เครื่องบน ทำไม้อัด ไม้บาง หรือหาก อาบน้ำยาแล้วสามารถใช้ทำเป็นหมอนรองราง รถไฟได้ นอกจากนี้ไม้ยางนายังมีคุณสมบัติ พิเศษให้น้ำมันไม้ หรือที่เรียกกันว่า น้ำมันยาง

ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae โดยเฉพาะในสกุล Dipterocarpus ซึ่งน้ำมันยางที่ได้นี้ ถือว่าเป็น minor forest product ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ อย่างหนึ่ง ประโยชน์ของน้ำมันยาง ได้แก่ ใช้ทาบ้าน เรือน รักษาเนื้อไม้ใช้ในอุตสาหกรรมทำร่ม ใช้ผสมชัน ยาเรือ ใช้ทำยา ทำขี้ไต้ และอื่นๆ

..........................................................................................................................................................................................

ตะเคียนทอง
Hopea odorata Roxb.

         ตะเคียนทอง มีชื่อพื้นเมืองต่างๆ ดังนี้ กะกี้ โกกี้ (กระเหรี่ยงแถบเขียงใหม่) จูเค้ โซเก (กระเหรี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี)  ตะเคียน ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง)  ไพร (ละว้า จังหวัดเชียงใหม่) และมีชื่อพื้นเมืองภาษาอังกฤษว่า Iron wood   ส่วนชื่อ วิทยาศาสตร์ คือ Hopea odorata Roxb.        อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีถิ่นในป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรังทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย   ขึ้นได้ดีในพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบใกล้ริมน้ำ เป็นไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นไม้เด่นของป่าดิบชื้น

ลักษณะทั่วไป

ตะเคียนทองเป็นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอด เป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีต่ำๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง ใบ รูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ ขนาด 3-6 x10-14 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้องหนา ปลายใบเรียว โคนใบบนป้านและเบี้ยว หลังใบที่ตุ่มเกลี้ยงๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ เส้นแขนงใบมี 9-13 คู่ ปลายโค้ง แต่ไม่จรดกัน ดอก เล็ก ออกเป็นช่อยาว สีขาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ก้านช่อดอก ก้านดอก และกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม กลีบดอก และกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกัน ผล กลม หรือรูปไข่เกลี้ยง ปลายมน เป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร ปีกยาว 1 คู่ รูปใบพาย ปลายปีกกว้างค่อนๆเรียวสวนมาทาง โคนปีก เส้นปีกความยาวมี 7 เส้น ปีกสั้นมีความยาวไม่เกิน ความยาวตัวผล ดอกออกระหว่าง เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม ดอกจะไม่ออกทุกปี ช่วงดอกออกมากประมาณ 2-3 ปี/ครั้ง และจะแก่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ตะเคียนทองมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย แถบประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย เป็นไม้ในป่าดงดิบมีการ สืบพันธุ์ ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำ กล้าไม้ที่เจริญเติบโตได้ 1-3 ปี มักจะถูกไฟคลอกตายในระยะหลังจึงสมควรที่จะหาทางนำไปขยายปลูกเป็นสวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติดั้งเดิมของไม้ตะเคียนทอง

ลักษณะของต้นไม้ก็มีส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งต่อการกระจายพันธุ์ กล่าวคือ ตะเคียนทองเป็นไม้เด่นที่มีลำต้นสูง ผลจึงถูกลมพัดพาไปได้ไกลๆ ประกอบกับเมล็ดมีการเสื่อมความงอกไว เมื่อตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ความชื้นไม่พอ ไม้ที่ให้ร่มเงาในระยะแรกไม่มีเมล็ดจะไม่งอกหรืองอกแล้วตายในที่สุด ไม้ตะเคียนทองนับวันจึงลดลงเรื่อยๆ

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

ตะเคียนทองเป็นไม้ที่ชอบแสง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปลูกในสภาพสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมของมันซึ่ง
เปลี่ยนไปแล้วจะต้องมีไม้อภิบาลในระยะแรก จนกว่าไม้ตั้งตัวได้แล้วจึงปล่อยให้ขึ้นลำพังไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองของ ธิติและคณะ (2534) ที่ปลูกไม้ตะเคียนทองร่วมกับไม้กระถินยักษ์ เปรียบเทียบกับปลูกในที่โล่ง พบว่า ระยะเวลาหกเดือนแรกหลังจากปลูกการรอดตายจะไม่แตกต่างกัน เนื่องจากยังมีความชื้นเพียงพอ แต่หลังจากหนึ่งปีผ่านพ้นไปพบว่า ตะเคียนทองที่ปลูกระหว่างกระถินยักษ์ 2x2 เมตร จะมีการรอดตายสูงสุด และในที่โล่งต่ำสุด การเจริญเติบโตก็มีลักษณะในทิศทางเดียวกับการรอดตาย

สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะสมกับไม้ตะเคียนทอง ควรมีปริมาณน้ำฝนเกินกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี ระยะความสูง 130-300 เมตร และเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำดี

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้าเพื่อปลูก
การขยายพันธุ์ตะเคียนทองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้วิธีผลิตกล้าจากการเพาะเมล็ด เมล็ดตะเคียนทองจัดเป็นพวกที่สูญเสียความงอกไว (Recalcitrant seed) ยิ่งกว่านั้นตะเคียนทองจะให้เมล็ด 2-3 ปีต่อครั้ง แต่ละครั้งก็ให้เมล็ดไม่มากเนื่องจากดอกร่วงหล่นเสียก่อนได้รับการผสมเกษร (เจษฎา และคณะ 2527) ทั้งนี้เนื่องจากโรคและแมลง ฉะนั้นการผลิตกล้าไม้จากเมล็ด จึงมีปัญหาอย่างมากต่อไปคงต้องใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทน

กล้าไม้ตะเคียนทองที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นกล้าค้างปี เพราะกล้าจะแกร่งมีการรอดตายสูง ถ้าใช้กล้าที่เพาะอายุเพียง 3-4 เดือน กล้าจะอ่อนไป ประกอบกับเมื่อนำไปปลูกได้ก็จวนหมดฤดูฝนแล้ว การรอดตายจึงต่ำเนื่องจากกล้าที่นำมาปลูก ได้เมล็ดราวเดือน มีนาคม-เมษายน นำมาเพาะ และปลูกได้ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน กล้าก็ยังไม่แกร่งพออีกทั้งปลายฤดูฝนแล้วจึงไม่นิยมนำไปปลูกในปีเดียวกัน ที่เพาะเมล็ดโดยมากจะนำไปปลูกในฤดูฝนปีถัดไป

การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก

       การปลูกป่าทางภาครัฐยังคงใช้วิธีการปลูกแบบธรรมดา (Extensive) ที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป การเตรียมพื้นที่มีเพียงแต่เก็บริบ เผาริบ เท่านั้น การเจริญเติบโตและกำลังผลิต จึงไม่ดีเท่าที่ควร การปลูกสวนป่าตะเคียนทองก็ยังมีน้อย เนื่องจากขาดเมล็ดและกล้าไม้ อีกทั้งการปลูกตะเคียนทองต้องเตรียมกล้าข้ามปี    แผนการปลูกป่าดำเนินการปีต่อปีไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า    ฉะนั้นตะเคียนทองจึงมีแต่ทำการปลูกเพื่องานทดลองเท่านั้น ซึ่งก็เป็นการปลูกแบบกึ่งประณีต (Semi intensive) เท่านั้น   ไม่ถึงกับขั้นประณีต (Intensive) การปลูกขั้นประณีตจะต้องมีการคัดเลือก พันธุ์อย่างดี เตรียมพื้นที่อย่างประณีต และบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง การปลูกตะเคียนทอง ในเชิง พาณิชย์ยังไม่มีเพราะการปลูกป่าภาคเอกชนยังขยายตัวไม่มากนัก อีกทั้งไม้ตะเคียนทองเป็น ไม้โตช้า หาเมล็ดและกล้าไม้ปลูกยาก จึงไม่เป็นที่นิยม

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม วิธีการปลูกไม้ตะเคียนทองก็เหมือนกับไม้ป่าทั่วๆ ไป กล้าที่ปลูกจะต้องทำให้แกร่งเสียก่อน โดยการนำออก รับแสงเต็มที่สัก 1-2 สัปดาห์ แล้วย้ายปลูกหลังจาก ฝนตก ถ้าทำได้ควรนำถังใส่น้ำเข้าไปในพื้นที่ปลูก นำกล้าตะเคียนทองจุ่มลงถังน้ำเพื่อให้รากดูดน้ำไว้จน อิ่มตัวแล้วจึงแกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มรากออกนำลง หลุมปลูก วิธีการนี้จะช่วยให้กล้าตะเคียนทองรอดตาย สูงในกรณีที่ฝนทิ้งช่วง ระยะปลูกที่ใช้กันทั่วไป คือ 4X4 เมตร เหมาะสมกับการปลูกร่วมกับไม้โตเร็ว ตระกูลถั่วอื่นๆ เพื่อไม้โตเร็วเหล่านั้นสามารถ fixed nitrogen ช่วยให้ไม้ตะเคียนทองเจริญเติบโตได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยอภิบาลด้วย สวนป่าตะเคียนทองควร ปลูกแบบวนเกษตรจะให้ผลดี เพราะตะเคียนทอง เป็นไม้โตช้า เมื่อมีการปลูกพืชควบแล้วมีการเตรียม

พื้นที่อย่างดี จะช่วยให้การเจริญเติบโตของไม้ตะเคียนทองดียิ่งขึ้น แล้วยังทำให้กายภาพของดินดีขึ้นด้วย เพราะมีการไถพรวนเป็นประจำในขณะเดียวกันเมื่อปลูกพืชอื่นๆ จะมีการใส่ปุ๋ยทำให้ไม้ตะเคียนได้รับปุ๋ยที่ใส่ในพืชควบด้วย ก็ยิ่งช่วยให้การเจริญเติบโต และการรอดตายสูงยิ่งขึ้น

การบำรุงรักษา ตะเคียนทองเป็นไม้ที่ต้องการบำรุงรักษาในระยะแรกปลูก เพื่อการตั้งตัวเนื่องจากสภาพแวดล้อม พื้นที่ป่าที่แท้จริงของไม้ ตะเคียนทองได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ความชื้นและความอุดม สมบูรณ์ ของดินลดลง การปฏิบัติบำรุงรักษาจึงต้องมีมากขึ้น ขั้นต่อไปก็ควรมีการใส่ปุ๋ยบ้าง โดยเฉพาะ ปุ๋ยไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส และเริ่มให้ได้รับแสงเต็มที่

โรค แมลง และศัตรูธรรมชาติ โรคและแมลง ที่ทำลายสวนป่ายังไม่พบเห็น อาจจะเป็นเพราะการปลูกสร้างสวนป่า ตะเคียนทอง ยังมีน้อย แต่สำหรับต้นใหญ่ที่ให้ดอกแล้วจะพบว่า ดอกได้ร่วงหล่นก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์ อันเนื่อง จากโรคและแมลง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชนิดใด หรืออาจจะเป็นเพราะสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิสูง เกินไป เป็นต้น ซึ่งจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

อย่างไรก็ตาม ฉวีวรรณ (2533) ได้พบ ด้วงยีราฟ (Giraffe weevilX มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoderus notatus F. ซึ่งอยู่ในวงศ์ Curculiondae กัดกินใบอ่อนของตะเคียนทอง การกำจัดด้วงเหล่านี้กระทำโดยใช้ ยาเคมีเซฟวิน หรือทามารอน 50% อีซี ฉีดพ่นในช่วงที่พบตัวเต็มวัย หรือช่วงกันยายน-พฤศจิกายน หรือเก็บใบที่ถูกม้วน เป็นหลอดทำลาย หรือเผาทิ้งเสีย เพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน การถางวัชพืชรอบแปลงให้โล่งเตียนจะช่วยทำลาย ที่อยู่อาศัยของด้วงได้ การฉีดยาฆ่าหญ้าพบว่า ด้วงยีราฟจะไม่เข้าทำลายต้นไม้อีกเลย นอกจากนี้ไฟป่าก็ เป็นสาเหตุใหญ่กับไม้ที่มีอายุน้อย 1-3 ปี

การเจริญเติบโต และผลผลิต

้ตะเคียนทองเป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าต้องการการดูแลรักษาในระยะแรกอย่างดี จากการทดลองของธิติและคณะ (2534)       ได้เปรียบเทียบการปลูกไม้ตะเคียนทองระหว่างไม้ กระถินยักษ์ที่มีระยะปลูก 2X2 เมตร และ 2X3 เมตร    และในที่โล่งพบว่าในระยะ 6 เดือนแรก ไม่มีความแตกต่างของการรอดตาย ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีความชื้นเพียงพอ แต่หลังจากหนึ่งปีแล้ว การรอดตายลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ปลูกระหว่างไม้กระถินยักษ์ 2X2 เมตร ให้เปอร์เซ็นต์ การรอดตายสูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาปลูกระหว่างกระถินยักษ์ 2X3 เมตร      และที่โล่ง เปอร์เซ็นต์การรอดตาย 40 เปอร์เซ็นต์ และ 35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หลังจากนั้นการรอดตายได้ ลดลงไม่มากหลังจากการปลูกไปแล้ว 12-42 เดือน เดือนที่ 42 เปอร์เซ็นต์ การรอดตายจะเหลือ 40, 38 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

สำหรับการเจริญเติบโตของไม้ตะเคียนทองที่ปลูกระหว่างไม้กระถินยักษ์ตามยะยะปลูก ดังกล่าวข้างต้น ระปีที่ 1-3 ไม้ที่ปลูกในที่โล่งการเจริญเติบทางด้าน ความสูงและเส้นผ่า ศูนย์กลางมีแนวโน้มดีกว่าปลูก ระหว่างไม้กระถินยักษ์ 2X2 และ 2X3 เมตร หลังจากนั้น การเจริญเติบโตได้ลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตจะต้องติดตามต่อไป

 

 

 

การทดลองความเจริญเติบโตที่จังหวัดขอนแก่นในระยะกล้าไม้ที่ปลูกในกระถางจำนวน 100 กระถาง เป็นเวลา 1 ปี (เจษฎา,2526) พบว่าความเจริญเติบโต ทางด้านความสูงเพิ่ม จาก 24 เซนติเมตร เป็น 62 เซนติเมตร และความโตของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ 10 เซนติ เมตร จากโคน จาก 0.32 เซนติเมตร เป็น 1.10 เซนติเมตร แต่เมื่อนำไปปลูกภายใต้เรือน ยอดของยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซีส 4X4 เมตร แล้วพบว่าความสูงเพิ่มขึ้นในปีแรก หลัง จากปลูกเป็น 97 เซนติเมตร หลังจากนั้นปีที่สองก็ลดลงเนื่องจากสัตว์เลี้ยงเข้าทำลาย สำหรับการเจริญเติบโตทางด้านเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ 10 เซนติเมตร นั้นจะต้องเจริญ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จาก 1.2 เซนติเมตร เป็น 3.3 เซนติเมตร

Thai-ngam (1991) ได้รายงานผลการเจริญเติบโต ของไม้ตะเคียนทองภายใต้เรือนยอดของไม้โตเร็ว 4 ชนิด คือ กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส และ แคบ้าน ที่ระยะปลูกต่างๆ กัน 2x4, 2x8, 4x4, 4x8 เมตร และที่โล่ง พบว่าความสูง ของไม้ตะเคียนทองที่ปลูกภายใต้เรือนยอด 4x8 เมตร ของไม้กระถินณรงค์ ขี้เหล็กบ้าน และยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส สูงกว่าระยะปลูกอื่นๆ

โดยมีความสูงเพิ่มขึ้นสูงสุดภายใต้เรือนยอด ขี้เหล็กบ้าน 4.5 เซนติเมตร ส่วนภายใต้เรือนยอด ไม้แคบ้าน ความสูงของตะเคียนทองเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ระยะปลูก 2x8 เมตร โดยเพิ่ม 2.2 เซนติเมตร และความเจริญเติมโต ทางด้านความโตก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับความสูงทั้งด้านชนิดไม้และ ระยะปลูก เพียงแต่ว่าความโตสูงสุดอยู่ที่ภายใต้เรือนยอดของแคบ้าน ระยะปลูก 2x8 เมตร โดย มีความโต (D10 ) เพิ่มขึ้น 0.09 เซนติเมตร

สรุปแล้วการปลูกไม้ตะเคียนทองภายใต้เรือนยอดของไม้โตเร็ว มีแนวโน้มว่าไม้โตเร็วควรมีระยะ การปลูกห่าง การเจริญเติบโตของไม้ตะเคียนทองถึงจะดี อย่างเช่นการทดลองของธิติและคณะ (2534) พบว่า ปลูกในที่โล่งมีการเจริญเติบโตดีกว่าปลูกภายใต้เรือน ยอดกระถินยักษ์ที่มีระยะปลูกชิดกันแค่ 2x2 หรือ 2x3 เมตร ในขณะที่ไม้โตเร็วมีระยะปลูกห่างมากขึ้นดังการทดลองของ Thai-ngam (1991) พบว่าไม้โตเร็วระยะปลูก 4x8 เมตร ให้การเจริญเติบโตของไม้ตะเคียนทองดีกว่าระยะปลูกที่ชิดกัน กว่านี้ แต่สำหรับตะเคียนทองปลูกในที่โล่งก็ให้ผลของการเจริญเติบโตไม่ค่อยดีนักซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่า ไม้ตะเคียนทองต้องการอภิบาลในระยะตั้งตัว และต้องมีระยะที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามปัจจัยควบคุม การเจริญเติบโตยังขึ้นอยู่กับท้องที่ที่ปลูก (site) และพรรณไม้ที่ปลูกร่วมด้วย (species) ซึ่งจะต้องมีการ ศึกษาในรายละเอียดให้มากกว่านี้ในเวลาต่อไป

การเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีและอายุตัดฟันของไม้ตะเคียนทอง ยังไม่มีผู้ใดศึกษาทั้งในป่าธรรมชาติและสวนป่า อย่างไรก็ตามได้ทำการคาดคะเนเอาไว้ในแผนแม่บทกรมป่าไม้ ในส่วนของการพัฒนาการปลูกสร้าง สวนป่าไม้ตะเคียนทองจัดอยู่ในไม้โตช้าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของไม้ชนิดนี้ถ้าปลูกแบบธรรมดาจะเป็น 0.32-0.64 ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี แต่ปลูกแบบกึ่งประณีตและประณีตแล้ว จะเป็น 0.48-0.96 และ 0.80-1.28 ลูกบาศก์เมตร/ไร่/ปี ตามลำดับ ซึ่งความผันแปรนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกว่า ปลูกที่ภาคไหนของประเทศ ถ้า ปลูกทางภาคใต้และภาคตะวันออกก็จะให้ความเพิ่มพูนมาก ถ้าปลูกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับ ความเพิ่มพูนน้อย สำหรับอายุการตัดฟันอยู่ที่ 50-100 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการปลูก และพื้นที่ปลูก ดังกล่าวข้างต้นการใช้เทคนิคอย่างประณีตสามารถลดอายุตัดฟันได้เกือบครึ่งหนึ่งของากรปลูกแบบใช้ เทคนิคแบบธรรมดา โดยที่ยังให้ผลผลิตเท่าเดิม

การใช้ประโยชน์

ไม้ตะเคียนทอง เนื้อไม้ใช้แปรรูปใช้ในงาน ก่อสร้างโครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนัก บ้านเรือน สะพาน หมอนรถไฟ ตัวถังรถ เรือ เครื่อง เรือน และสิ่งปลูกสร้าง อื่นที่ต้องการความ แข็งแรงทนทาน เนื้อไม้มีน้ำหนัก 753 กก./ลบ.ม. ที่ความชื้น 12 เปอร์เซ็นต์ และความถ่วง จำเพาะ 0.637 จากการทดสอบความทนทาน ของไม้ตะเคียนทองพบว่า ชิ้นไม้ที่ปักทดสอบ

สามารถความคงทนได้นานกว่า 10 ปี ถ้านำมาทดหมอนรองรางรถไฟสามารถใช้งานได้ 16-18 ปี ถ้าขุดต้นตะเคียนทำเป็นเรือ จำได้นานกว่า 60 ปี แปรรูปนำมาต่อเรือเดินทะเลใช้งานได้นาน กว่า 25 ปี และถ้านำมาเป็นไม้ก่อสร้างในร่ม ทำเฟอร์นิเจอร์ จะใช้งานได้นานไม่มีกำหนด (บรรดิษฐ์,2530)

นอกจากประโยชน์ทางเนื้อไม้แล้ว ยางไม้ตะเคียนทอง ซึ่งมีชื่อการค้าว่า “Rock Dammar”มีสี เหลือง และมีกลิ่นเล็กน้อยเมื่อถูกอากาศจะจับตัวเป็นก้อนแข็งกลมๆ รอยแตกจะเป็นมันวาว ก้อนยางนี้จะพบตามลำต้นหรือบริเวณที่เจาะสำหรับเอายางและยางที่จับตัวเป็นก้อนแข็งนี้ สามารถละลายได้ดีในน้ำมันสนหรือแอลกอฮลล์ คุณภาพของยางที่ได้ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็สามารถ ใช้เป็นน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้สำหรับผสมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในงานต่างๆ เช่น ใช้ทาเคลือบเรือเพื่อรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย นอกจากนี้ยางไม้ตะเคียนทองเมื่อนำ มาบดเป็นผงใช้เป็นยารักษาบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ทำยาหม่อง ใช้รักษาบาดแผลหรือบริเวณ ฟกช้ำของร่างกายในประเทศพม่า (บรรดิษฐ์ 2530) ส่วนใบตะเคียนทองมีสารแทนนินอยู่ 10 เปอร์ เซ็นต์ โดยน้ำหนักแห้ง ในเปลือกก็มีสารนี้ประกอบอยู่เช่นกัน คุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำไปใช้ฟอกหนังจะทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม เหมาะสมกับการใช้งาน เฉพาะอย่างได้เป็นอย่างดี

ส่วนประโยชน์อื่นๆ ในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั้น ไม้ตะเคียนทองเป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบพร้อม กัน จึงเป็นไม้ที่รักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซ CO2 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยช่วยสภาพ แวดล้อมดีขึ้นในการรักษาความสมดุลของธรรมชาติ 

ข้อจำกัดของไม้ชนิดนี้

ไม้ตะเคียนทองเป็นไม้โตช้าที่ต้องการความชื้น และมีไม้อภิบาลให้ขั้นแรกเมื่อไม้ตั้งตัวได้แล้ว จึงทำการเปิดให้รับแสงให้เต็มที่ ปริมาณน้ำฝน ก็เป็นข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่งควรมีสูงกว่า 1,500 มม./ปี ถึงจะเจริญเติบโตได้

ข้อเสนอแนะในการปลูกไม้ตะเคียนทอง ผู้ที่ต้องการปลูกตะเคียนทองจะต้องหาเมล็ดไว้ ล่วงหน้า นอกจากนั้นเมล็ดตะเคียนทองเป็นเมล็ด ที่เสื่อมการงอกไว จะต้องติดตามระยะการให้ เมล็ดให้ดี เพราะหลังจากเมล็ดร่วงหล่นเกิน 15 วัน เมล็ดก็จะไม่งอก และเมื่อเพาะเมล็ดแล้วจะ ต้องเก็บกล้าไว้ค้างปี ช่วงฝนแรกที่เพาะเมล็ด ตะเคียนทอง กล้าตะเคียนทองยังไม่แกร่งพอที่จะนำไปปลูกได้ ฉะนั้นผู้ที่สนใจจะต้องทราบถึงข้อจำกัดเหล่านี้ อย่างไรก็ตามตะเคียนเป็นไม้ ตระกูลยางที่คุณค่าสูงทางเศรษฐกิจ จึงน่าที่จะมีการส่งเสริมให้ช่วยกันปลูกมากๆ    มิฉะนั้นใน อนาคตตะเคียนทองอาจจะหมดไปจากป่าก็ได้